
ตำนานสงกรานต์ของไทย
มีเรื่องเล่าว่า ท้าวกบิลพรหมซึ่งเป็นพระพรหมตนหนึ่ง ได้ลงมาทายปัญหา แก่ธรรมบาลกุมารว่า เวลาเช้า เที่ยง เย็น ราศีของมนุษย์อยู่ที่ใด โดยได้พนันเอาศีรษะ ของแต่ละฝ่ายเป็นเดิมพัน ธรรมบาลกุมาร สามารถตอบปัญหาได้ ท้าวกบิลพรหมจึงต้องตัดศีรษะตนเองตามสัญญา แต่ศีรษะของท้าวกบิลพรหม มีฤทธิ์มาก หากตั้งไว้บนแผ่นดินจะเกิดไฟไหม้ โยนขึ้นบนอากาศฝนจะแล้ง ทิ้งลงในมหาสมุทรน้ำจะแห้ง จึงให้เทพธิดาทั้ง ๗ เป็นผู้ดูแลรักษา เมื่อครบปีก็ทรงเทพพาหนะต่างๆ ผลัดกันเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหม ออกแห่รอบเขาพระสุเมรุ เรียกนางเทพธิดาที่ทำหน้าที่นี้
ประกาศ สงกรานต์ ปี มะเมีย พ.ศ. ๒๕๕๗
วันที่ ๑๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เป็นวันมหาสงกรานต์
เวลา ๐๘ นาฬิกา ๑๑ นาที ๒๔ วินาที
นางสงกรานต์ ชื่อ โคราคะเทวี
ทรงพาหุรัดน์ทัดดอก ปีบ
แก้วมุกดาหาร เป็นอาภรณ์
ภักษาหาร น้ำมันเนย
พระหัตถ์ขวา ทรง พระขรรค์
พระหัตถ์ซ้าย ทรงไม้เท้า
เสด็จยืน มาบนหลังเสือ
เกณฑ์ฝน ฝนตก ๔๐๐ ห่า
ตกในจักรวาล ๑๖๐ ห่า
ตกนอกฟ้าป่าหิมพานต์ ๑๒๐ ห่า
ตกในมหาสมุทร ๘๐ ห่า
ตกในมนุษย์โลก ๔๐ ห่า
นาคให้น้ำ ๖ ตัว ฝนดีตลอดปี
เกณฑ์น้ำ ชื่อเตโช น้ำน้อย
เกณฑ์ธัญญาหาร ชื่อปาปะ ข้าวกล้าในภูมินา
จะได้ผล ๑ ส่วนหนึ่ง เสีย ๑๐ ส่วน
ธัญญาหาร ผลาหาร ขาดแคลน
....................
|